Attorney of Civil case Criminal law case Family Law case Heritage case Criminal Law case Administrative case Taxes Law case

เริ่มต้นกับเราวันนี้

คดีฟ้องหย่า

สาระสำคัญเกี่ยวกับคดีหย่า

หน้าที่ของทนายความคดีหย่า

อารมณ์...เรื่องอันตราย
อย่าปล่อยให้กระบวนการหย่าตกอยู่ใต้การควบคุมของคนอื่น
เตรียมเอกสารหลักฐานสำคัญ
แยกให้ออกว่าเรื่องใดควรทำเอง
เชื่อมั่นในตัวเอง
สิ่งควรคิด... เมื่อคิดจะหย่า
สร้างเครดิตทางการเงินในชื่อของตัวเอง
แบ่งอย่างเป็นธรรม
ผลประโยชน์แฝง
เงินลงทุน
ค่าทดแทน ค่าเลี้ยงชีพ และค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร...สามเรื่องเงินที่ชวนปวดหัวของคู่หย่า
ค่าทดแทน
ค่าเลี้ยงชีพ

เพราะการสมรสก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ความ รับผิดชอบและสถานภาพทางสังคม คู่สมรสต่างหมดโอกาสคัดเลือกชายหรือหญิงอื่นมาเป็นคู่ชีวิต เมื่อการสมรสแตก สลายโดยการหย่า จึงสมควรให้คู่หย่าฝ่ายหนึ่งต้องอุปการะเลี้ยงดู คู่หย่าอีกฝ่าย จนกว่าจะสมรสใหม่ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้เรียกว่า “ค่าเลี้ยงชีพ” (Alimony)

ค่าเลี้ยงชีพนี้จะหมดไปเมื่อสมรส ใหม่(ม่ายสาวที่ได้รับค่าเลี้ยงชีพจากสามีเก่า จึงไม่นิยมจดทะเบียนสมรสกับผู้ชายคนใหม่ เพื่อรักษาสิทธิค่าเลี้ยงชีพเอาไว้) และโดยคำสั่งเพิกถอนของศาล โดยคู่หย่าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพยื่นคำร้อง และแสดง หลักฐานให้เห็นได้ว่า ฐานะของคู่หย่าเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้สิทธินี้เป็นสิทธิ เฉพาะตัวของผู้ทรงสิทธิ สละหรือโอนไม่ได้ และหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตไป สิทธิและหน้าที่นี้เป็นอันสิ้นสุด ไม่ตกทอดไปยังทายาท และที่สำคัญคือค่าเลี้ยง ชีพนี้ไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของคู่หย่าที่มีสิทธิ รับค่าเลี้ยงชีพ ไม่อาจยึดหรืออายัดเงินเพื่อนำมาชำระหนี้ได้

แต่การเรียกร้องสิทธิค่าเลี้ยงชีพนี้ จะทำได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าการหย่าเป็น ความผิดของคู่หย่าเพียงฝ่ายเดียว หากเป็นความผิดของทั้งสองฝ่ายจะเรียกร้อง ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น (ว่าที่อดีต) ภรรยาเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจาก (ว่าที่อดีต) สามี ได้ หากมีภรรยาน้อย แต่หากสืบข้อเท็จจริงได้ว่า (ว่าที่อดีต) สามีมีภรรยาน้อยหลังจากที่ (ว่าที่อดีต) ภรรยาทิ้งร้างไปนานกว่าหนึ่งปี แบบนี้ (ว่าที่อดีต) ภรรยา จะเรียกร้องค่าทดแทนไม่ได้เพราะมีความผิดด้วยเหมือนกัน

คู่หย่าสามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพได้ หากการหย่าทำให้จนลง เพราะไม่มี รายได้จากทรัพย์สินหรืองานที่เคยทำก่อนการสมรส ซึ่งต้องมีหลักฐานทำให้ศาล เชื่อได้ว่าการหย่าจะทำให้ยากจน (ลง)

แต่อย่าเพิ่งคิดว่าจะมีสิทธิเป็น อีวาน่า ทรัมพ์ เพราะเรื่องนี้มีข้อแม้ถึงสอง ประการคือ หากฐานะทางเศรษฐกิจของคุณ (คู่หย่า) ที่เป็นฝ่ายเรียกค่าเลี้ยงชีพ มิได้ เปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลง คุณไม่สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพได้ และที่สำคัญ อีกประการคือศาลจะพิจารณาความสามารถของผู้ให้และผู้รับเป็นสำคัญ หากคู่หย่า ของคุณมิได้ร่ำรวยขนาด โดนัลด์ ทรัพม์ ที่หวังจะเป็นเศรษฐี (นี) มีเงินเป็นล้านคงยาก

อีกเรื่องที่ลืมไม่ได้คือ หากจะเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากคู่หย่า จะต้องทำกันในช่วง ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีฟ้องหย่า จะมาเรียกร้องกันทีหลังไม่ได้เพราะสิทธินี้มีเวลา หมดอายุ โดยกำหนดอายุอยู่ในช่วงคดีฟ้องหย่าเท่านั้น ส่วนกรณีหย่าโดยความ ยินยอม (ของทั้งสองฝ่าย) หากไม่ตกลงเรื่องค่าเลี้ยงชีพนี้เอาไว้ คุณจะมาเรียกร้อง ภายหลังไม่ได้เหมือนกัน

ยังมีอีกเรื่องที่ต้องรู้คือ คู่หย่าสามารถร้องขอให้ศาลแก้ไขค่าเลี้ยงชีพ โดยเพิก ถอน ปรับเพิ่มหรือลดได้ หากรายได้หรือฐานะของคู่หย่าเปลี่ยนไป แต่ถ้าคุณรับเงิน ค่าเลี้ยงชีพมาเป็นเงินก้อน คุณไม่สามารถร้องให้ศาลเปลี่ยนแปลงปรับเพิ่มค่าเลี้ยง ชีพได้อีก

สิทธิการดูแลบุตร

นี่เป็นอีกเรื่องที่ทำให้เกิดภาวะกระอัก กระอ่วน ปวดใจ ทำร้ายความรู้สึกกัน อย่างหนักหนาสาหัส เมื่อต้องฟ้องหย่าตามกฎหมายทั้งพ่อและแม่มีสิทธิใช้ อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน (ภาษากฎหมาย) ดังนั้นเมื่อตัดใจหย่าจงคิดถึงข้อนี้ด้วย ถ้าตกลงกัน (ดีๆ) ไม่ได้ก็คงต้องพึ่งอำนาจศาล ให้กำหนดว่าอำนาจการปกครองควร จะอยู่กับใคร ซึ่งศาลจะพิจารณาความสุขและประโยชน์ของเด็ก (บุตร) เป็นสำคัญ

ส่วนเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น ศาลพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะบิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะลูกของตนอยู่แล้ว ศาลอาจให้คู่กรณีฝ่ายใดรับ ผิดชอบจ่ายใช้จ่ายก็ได้ โดยพิจารณาจากความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ เพราะบางครอบครัว ลูกอาจได้รับมรดกจากปู่ย่าตายาย มีรายได้มากกว่าทั้งพ่อและแม่ กรณีนี้ ศาลอาจยกประโยชน์ให้พ่อที่จนกรอบไม่ต้องส่งเงินในส่วนนี้ก็ได้

และหากทำสัญญากันแล้ว ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร อีกฝ่ายมีสิทธิฟ้องเรียกให้จ่ายเงินที่ค้างชำระได้ แต่หากคดีมีทุนไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท จะอุทธรณ์ไม่ได้อีกอย่างที่ควรทราบคือเงินอุปการะเลี้ยงดูบุตรนี้ไม่ต้อง เสียภาษีเงินได้

เงื่อนเวลา... ข้อที่ควรระวัง

ที่คู่หย่าไม่ควรมองข้ามอีกเรื่องคือ ผลกระทบที่มีต่อทรัพย์สินอันเนื่องมาจาก เงื่อนไขเวลาการหย่า การหย่าโดยความยินยอมของคู่หย่ามีผลตั้งแต่เวลาจดทะเบียน หย่า แม้จะทำหนังสือหย่ากันแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนหย่า ไม่ถือว่าการหย่า สมบูรณ์ ทรัพย์สินที่เกิดในช่วงเวลาก่อนจดทะเบียนหย่ายังถือเป็นสินสมรส ดังเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้

หลังจากใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะสามีภรรยา มาได้สิบปี คุณเพิ่มโชคและคุณหวัง ลาภ ต่างมีอาการพลันคิดได้ว่าทั้งคู่สิ้นวาสนาที่จะครองคู่ จึงตกลงปลงใจหย่าร้างกัน ซึ่งการหย่าด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คุณเพิ่มโชคผู้สามีและคุณหวังลาภ ผู้ภรรยาเพิ่งจะรู้ว่ามิอาจทำกันง่าย ๆ ดังที่เห็นในละครหลังข่าวโดยนัดกันไปหย่า ที่อำเภอได้ทันที หากแต่ตามกฎหมายจะต้องมีการทำหนังสือสัญญาหย่าโดยมี พยานรับรองสองคนเสียก่อน แล้วจึงนำหนังสือหย่านี้ไปขอจดทะเบียนหย่าต่อ นายทะเบียนที่อำเภอ เพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ ในเวลา 9.00 น. ของวันที่ 30 มกราคม 2546 คุณเพิ่มโชค และคุณหวังลาภ ปฏิบัติตามขั้นตอนโดยทำหนังสือหย่าโดยมีพยานสองคนก่อน แต่เนื่องจากคุณเพิ่มโชคติดธุระด่วนจึงนัดให้คุณหวังลาภไปเจอกันที่อำเภอ เพื่อจด ทะเบียนหย่าในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 แต่ปรากฎว่าในวันที่ 31 มกราคม 2546 คุณเพิ่มโชคมีโชคดังชื่อเพราะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ทำให้คุณหวังลาภได้ ลาภ สมหวังดังชื่อด้วยเหมือนกัน เพราะเงินรางวัลที่คุณเพิ่มโชคถูกล็อตเตอรี่มานี้ ถือเป็นสินสมรส ต้องแบ่งให้คุณหวังลาภด้วย เนื่องจากทั้งคู่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า

นอกจากนี้ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตก่อนจดทะเบียนหย่า อีกฝ่ายหนึ่งยังคงมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสได้

ส่วนการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลมีผล บังคับตั้งแต่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน คำพิพากษามีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า คือแบ่ง ทรัพย์สินตามที่มีอยู่ในวันฟ้องหย่า และทรัพย์ที่เกิดขึ้นในช่วงการฟ้องร้องสามารถ ฟ้องขอแบ่งได้ในภายหลัง

วางแผนการเงินหลังหย่า

เพราะมีวิถีชีวิตหลังหย่าต้องแปรเปลี่ยน ไป (อย่างแน่นอน) ที่ควรทำอีกอย่าง คือ ทบทวนเป้าหมายทางการเงินของคุณ ซึ่งเริ่มต้นได้ด้วยการถามตัวเองดังนี้

    1. เปรียบเทียบกับคู่กรณีรายได้ในอนาคตของคุณเป็นอย่างไร
    2. คุณมีเงินสะสมไว้ใช้หลังเกษียณบ้างหรือเปล่า
    3. การลงทุนของคุณช่วยให้คุณบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเงิน และมีความเสี่ยงในระดับที่รับได้หรือไม่

เพื่อให้ได้ประโยชน์จากคำถามนี้จริงๆ คุณอาจของคำปรึกษาจากที่ปรึกษาการ ลงทุน (ขอแนะให้อ่านบทความว่าด้วยเรื่อง “การว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน” ก่อน)

และหลังจากผ่านขั้นตอนทางกฎหมาย ที่นำมาซึ่งความเจ็บปวดในหัวใจกันไป แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องจัดระเบียบการเงินกันใหม่ให้แจ๋วกว่าเก่ากันเสียที ที่ควรทำ ก็อย่างเช่น เปลี่ยนชื่อผู้รับประโยชน์ในพินัยกรรมหรือกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหลาย และจัดระเบียบการเงินใหม่ ทำงบการเงินให้ชัดเจน ทำรายการค่าใช้จ่ายประจำ เดือน อย่างค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ชำระหนี้บัตรเครดิต ฯลฯ ชั่งใจ (เสียที) ระหว่าง สิ่งจำเป็น (จริงๆ) กับสิ่งที่เป็นเพียงความต้องการ คุณจะได้ลำดับความสำคัญและกำลังเงินของคุณได้ และตัดสินใจได้ว่าควรใช้ควรจ่ายแค่ไหน อย่างไร

หากบังเอิญมีทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดราย ได้มา คุณน่าจะคิดถึงการวางแผนภาษี ด้วย เพราะปัจจุบันมีบริษัทที่ปรึกษาด้านภาษีหลายแห่งให้คำแนะนำได้ ไม่ใช่เพื่อ ให้เลี่ยงภาษีได้อย่างสุจริตเหมือนผู้นำในตระกูลซุกจังของบางประเทศ แต่เพื่อช่วย ให้คุณเสียภาษีได้อย่างประหยัดและถูกต้องต่างหาก

มูลค่าของเงิน (Time Value of Money)

อีกเรื่องที่ต้องเตือน แต่คงเฉพาะในรายที่ร่ำรวยอย่างสุจริตหลังลงนามในหนังสือ หย่า อย่าใจร้อน วู่วาม จับจ่ายใช้สอยประหนึ่งม่ายเศรษฐีทันที จะดีกว่าหากจะหยุด สักนิด… คิดคำนวณดูว่าที่ได้เพิ่มขึ้นมานั้น มากกว่าอัตราเงินเฟ้อหรือเปล่า

หากจะคำนวณตัวเลขนี้ ที่คุณต้องเข้าใจคือมูลค่าของเงิน หรือ Time Value of Money ซึ่งหมายถึงว่าเวลามีผลต่อมูลค่าของเงิน

สมมติว่า เพื่อนสองคนของคุณมีข้อเสนอที่แตกต่างกัน คนแรกบอกว่าจะให้ ทันที 100 บาท อีกคนก็มีเงิน 100 บาทให้เหมือนกัน แต่คุณต้องรออีกสามปี หลายคนคงรับข้อเสนอของเพื่อนคนแรก

ทีนี้ เพื่อนคนแรกที่ให้เงิน 100 บาททันที เพิ่มเงื่อนไขขึ้นอีกนิด คือ จะรับ 100 วันนี้ หรือจะรอรับเป็น 200 บาท ในอีกสามปีข้างหน้า (นี่คือตัวเลขสมมติ เพื่อเรียกร้องความสนใจเท่านั้น) แบบนี้คงต้องคิดก่อนตัดสินใจกันหน่อย

บางคนอาจจะคำนวณด้วยหลักการว่า ด้วย 100 บาทตามข้อเสนอ ตนเอง มีหนทางลงุทนเพื่อเพิ่มค่าของเงินได้มากกว่า 200 บาท ในอีกสามปีข้างหน้าหรือไม่ ถ้ามี ก็รับเงินเอาไว้เลย แต่สำหรับบางคนมองแล้วว่าการรับเงินสดมาแล้วนำไป ฝากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงทุกวันทุกวันอย่างนี้ ขอรอรับเป็น 200 บาท ในอีกสามปีน่าจะดีกว่า

แต่ที่น่าสนใจเพราะจะเป็นพื้นฐานในการคำนวณมูลค่าเงิน คือ “เงินส่วนเพิ่ม” มาจากไหน เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

จะตอบคำถามนี้ได้คุณต้องรู้จักเทียบค่า เงินในปัจจุบันและอนาคต ใช้ “มูลค่า เงินในปัจจุบัน” (Present Value) เป็นต้นทุนในการคำนวณ โดยมี “อัตราส่วนลด” (Discount Rate) เป็นตัวแปร ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนต่างกันออกไป ซึ่งในที่นี้ คำนวณในกรณีที่อัตราส่วนลดอยู่ที่ ร้อยละ 6

แบบแรก รับเงิน 10,000 บาท ตามมูลค่าในปัจจุบัน (วันนี้) เท่ากับ 10,000 บาท

แบบที่สอง รับเงิน 12,000 บาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าของเงินปัจจุบันจะอยู่ที่ 8,967 บาท

แบบที่สาม รับเงินเดือนละ 200 บาทติดต่อกัน 5 ปี มูลค่าของเงินปัจจุบันจะเท่ากับ 10,345 บาท

มูลค่าเงินที่ต่างกันไปตามอัตราส่วนลดนี่แหละ ที่คุณควรนำมาพิจารณาเพื่อ รักษาสิทธิประโยชน์ของคุณในการเจรจาแบ่งสินทรัพย์

และทั้งหมดนี่คือเรื่องที่ควรรู้ไว้หาก (จำ) ต้องหย่า แต่หวังว่าสถานการณ์นี้ คงไม่เกิดกับคุณ

สถิติการสมรสและหย่าร้าง

แต่ในทั้งสองกรณีจะเรียกค่าทดแทนจากชาย ชู้และหญิงที่เข้ามามีสัมพันธ์กับ สามีได้ ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าชายชู้หรือชายที่ล่วงเกินภรรยา ทราบว่าหญิงนั้นมีสามี แล้ว และหญิงที่เข้ามามีสัมพันธ์กับสามีทำนองชู้สาวทราบว่าชายนั้นมีภรรยาแล้ว 
นอกจากนี้ ยังเรียกค่าทดแทนจากคู่หย่าได้ในอีกหลายกรณี เช่น ทำร้าย ร่างกาย ดูหมิ่นเหยียดหยามบิดามารดาของคู่หย่าอย่างร้ายแรง จงใจทิ้งร้างไปเกิน หนึ่งปี ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามสมควร หรือทำการเป็นปฎิปักษ์ ต่อการเป็นสามีภรรยา หากคู่หย่ากระทำการเหล่านี้ หรือจงใจทำเพื่อให้อีกฝ่าย ฟ้องหย่า คุณสามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ 
ส่วนจำนวนค่าทดแทน ศาลจะวินิจฉัยตามสมควรแต่พฤติการณ์ โดยจะคำนึง ถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่หย่าได้จากการแบ่งสินสมรสจากการหย่าด้วย 
ค่าเลี้ยงชีพ 
เพราะการสมรสก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ความ รับผิดชอบและสถานภาพทางสังคม คู่สมรสต่างหมดโอกาสคัดเลือกชายหรือหญิงอื่นมาเป็นคู่ชีวิต เมื่อการสมรสแตก สลายโดยการหย่า จึงสมควรให้คู่หย่าฝ่ายหนึ่งต้องอุปการะเลี้ยงดู คู่หย่าอีกฝ่าย จนกว่าจะสมรสใหม่ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้เรียกว่า “ค่าเลี้ยงชีพ” (Alimony) 
ค่าเลี้ยงชีพนี้จะหมดไปเมื่อสมรส ใหม่(ม่ายสาวที่ได้รับค่าเลี้ยงชีพจากสามีเก่า จึงไม่นิยมจดทะเบียนสมรสกับผู้ชายคนใหม่ เพื่อรักษาสิทธิค่าเลี้ยงชีพเอาไว้) และโดยคำสั่งเพิกถอนของศาล โดยคู่หย่าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพยื่นคำร้อง และแสดง หลักฐานให้เห็นได้ว่า ฐานะของคู่หย่าเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้สิทธินี้เป็นสิทธิ เฉพาะตัวของผู้ทรงสิทธิ สละหรือโอนไม่ได้ และหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตไป สิทธิและหน้าที่นี้เป็นอันสิ้นสุด ไม่ตกทอดไปยังทายาท และที่สำคัญคือค่าเลี้ยง ชีพนี้ไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของคู่หย่าที่มีสิทธิ รับค่าเลี้ยงชีพ ไม่อาจยึดหรืออายัดเงินเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ 
แต่การเรียกร้องสิทธิค่าเลี้ยงชีพนี้ จะทำได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าการหย่าเป็น ความผิดของคู่หย่าเพียงฝ่ายเดียว หากเป็นความผิดของทั้งสองฝ่ายจะเรียกร้อง ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น (ว่าที่อดีต) ภรรยาเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจาก (ว่าที่อดีต) สามี ได้ หากมีภรรยาน้อย แต่หากสืบข้อเท็จจริงได้ว่า (ว่าที่อดีต) สามีมีภรรยาน้อยหลังจากที่ (ว่าที่อดีต) ภรรยาทิ้งร้างไปนานกว่าหนึ่งปี แบบนี้ (ว่าที่อดีต) ภรรยา จะเรียกร้องค่าทดแทนไม่ได้เพราะมีความผิดด้วยเหมือนกัน 
คู่หย่าสามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพได้ หากการหย่าทำให้จนลง เพราะไม่มี รายได้จากทรัพย์สินหรืองานที่เคยทำก่อนการสมรส ซึ่งต้องมีหลักฐานทำให้ศาล เชื่อได้ว่าการหย่าจะทำให้ยากจน (ลง) 
แต่อย่าเพิ่งคิดว่าจะมีสิทธิเป็น อีวาน่า ทรัมพ์ เพราะเรื่องนี้มีข้อแม้ถึงสอง ประการคือ หากฐานะทางเศรษฐกิจของคุณ (คู่หย่า) ที่เป็นฝ่ายเรียกค่าเลี้ยงชีพ มิได้ เปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลง คุณไม่สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพได้ และที่สำคัญ อีกประการคือศาลจะพิจารณาความสามารถของผู้ให้และผู้รับเป็นสำคัญ หากคู่หย่า ของคุณมิได้ร่ำรวยขนาด โดนัลด์ ทรัพม์ ที่หวังจะเป็นเศรษฐี (นี) มีเงินเป็นล้านคงยาก 
อีกเรื่องที่ลืมไม่ได้คือ หากจะเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากคู่หย่า จะต้องทำกันในช่วง ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีฟ้องหย่า จะมาเรียกร้องกันทีหลังไม่ได้เพราะสิทธินี้มีเวลา หมดอายุ โดยกำหนดอายุอยู่ในช่วงคดีฟ้องหย่าเท่านั้น ส่วนกรณีหย่าโดยความ ยินยอม (ของทั้งสองฝ่าย) หากไม่ตกลงเรื่องค่าเลี้ยงชีพนี้เอาไว้ คุณจะมาเรียกร้อง ภายหลังไม่ได้เหมือนกัน 
ยังมีอีกเรื่องที่ต้องรู้คือ คู่หย่าสามารถร้องขอให้ศาลแก้ไขค่าเลี้ยงชีพ โดยเพิก ถอน ปรับเพิ่มหรือลดได้ หากรายได้หรือฐานะของคู่หย่าเปลี่ยนไป แต่ถ้าคุณรับเงิน ค่าเลี้ยงชีพมาเป็นเงินก้อน คุณไม่สามารถร้องให้ศาลเปลี่ยนแปลงปรับเพิ่มค่าเลี้ยง ชีพได้อีก 
สิทธิการดูแลบุตร 
นี่เป็นอีกเรื่องที่ทำให้เกิดภาวะกระอัก กระอ่วน ปวดใจ ทำร้ายความรู้สึกกัน อย่างหนักหนาสาหัส เมื่อต้องฟ้องหย่าตามกฎหมายทั้งพ่อและแม่มีสิทธิใช้ อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน (ภาษากฎหมาย) ดังนั้นเมื่อตัดใจหย่าจงคิดถึงข้อนี้ด้วย ถ้าตกลงกัน (ดีๆ) ไม่ได้ก็คงต้องพึ่งอำนาจศาล ให้กำหนดว่าอำนาจการปกครองควร จะอยู่กับใคร ซึ่งศาลจะพิจารณาความสุขและประโยชน์ของเด็ก (บุตร) เป็นสำคัญ 
ส่วนเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น ศาลพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะบิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะลูกของตนอยู่แล้ว ศาลอาจให้คู่กรณีฝ่ายใดรับ ผิดชอบจ่ายใช้จ่ายก็ได้ โดยพิจารณาจากความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ เพราะบางครอบครัว ลูกอาจได้รับมรดกจากปู่ย่าตายาย มีรายได้มากกว่าทั้งพ่อและแม่ กรณีนี้ ศาลอาจยกประโยชน์ให้พ่อที่จนกรอบไม่ต้องส่งเงินในส่วนนี้ก็ได้ 
และหากทำสัญญากันแล้ว ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร อีกฝ่ายมีสิทธิฟ้องเรียกให้จ่ายเงินที่ค้างชำระได้ แต่หากคดีมีทุนไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท จะอุทธรณ์ไม่ได้อีกอย่างที่ควรทราบคือเงินอุปการะเลี้ยงดูบุตรนี้ไม่ต้อง เสียภาษีเงินได้ 
เงื่อนเวลา… ข้อที่ควรระวัง 
ที่คู่หย่าไม่ควรมองข้ามอีกเรื่องคือ ผลกระทบที่มีต่อทรัพย์สินอันเนื่องมาจาก เงื่อนไขเวลาการหย่า การหย่าโดยความยินยอมของคู่หย่ามีผลตั้งแต่เวลาจดทะเบียน หย่า แม้จะทำหนังสือหย่ากันแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนหย่า ไม่ถือว่าการหย่า สมบูรณ์ ทรัพย์สินที่เกิดในช่วงเวลาก่อนจดทะเบียนหย่ายังถือเป็นสินสมรส ดังเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ 
หลังจากใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะสามีภรรยา มาได้สิบปี คุณเพิ่มโชคและคุณหวัง ลาภ ต่างมีอาการพลันคิดได้ว่าทั้งคู่สิ้นวาสนาที่จะครองคู่ จึงตกลงปลงใจหย่าร้างกัน ซึ่งการหย่าด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คุณเพิ่มโชคผู้สามีและคุณหวังลาภ ผู้ภรรยาเพิ่งจะรู้ว่ามิอาจทำกันง่าย ๆ ดังที่เห็นในละครหลังข่าวโดยนัดกันไปหย่า ที่อำเภอได้ทันที หากแต่ตามกฎหมายจะต้องมีการทำหนังสือสัญญาหย่าโดยมี พยานรับรองสองคนเสียก่อน แล้วจึงนำหนังสือหย่านี้ไปขอจดทะเบียนหย่าต่อ นายทะเบียนที่อำเภอ เพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ ในเวลา 9.00 น. ของวันที่ 30 มกราคม 2546 คุณเพิ่มโชค และคุณหวังลาภ ปฏิบัติตามขั้นตอนโดยทำหนังสือหย่าโดยมีพยานสองคนก่อน แต่เนื่องจากคุณเพิ่มโชคติดธุระด่วนจึงนัดให้คุณหวังลาภไปเจอกันที่อำเภอ เพื่อจด ทะเบียนหย่าในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 แต่ปรากฎว่าในวันที่ 31 มกราคม 2546 คุณเพิ่มโชคมีโชคดังชื่อเพราะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ทำให้คุณหวังลาภได้ ลาภ สมหวังดังชื่อด้วยเหมือนกัน เพราะเงินรางวัลที่คุณเพิ่มโชคถูกล็อตเตอรี่มานี้ ถือเป็นสินสมรส ต้องแบ่งให้คุณหวังลาภด้วย เนื่องจากทั้งคู่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า 
นอกจากนี้ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตก่อนจดทะเบียนหย่า อีกฝ่ายหนึ่งยังคงมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสได้ 
ส่วนการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลมีผล บังคับตั้งแต่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน คำพิพากษามีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า คือแบ่ง ทรัพย์สินตามที่มีอยู่ในวันฟ้องหย่า และทรัพย์ที่เกิดขึ้นในช่วงการฟ้องร้องสามารถ ฟ้องขอแบ่งได้ในภายหลัง 
วางแผนการเงินหลังหย่า 
เพราะมีวิถีชีวิตหลังหย่าต้องแปรเปลี่ยน ไป (อย่างแน่นอน) ที่ควรทำอีกอย่าง คือ ทบทวนเป้าหมายทางการเงินของคุณ ซึ่งเริ่มต้นได้ด้วยการถามตัวเองดังนี้ 
1เปรียบเทียบกับคู่กรณีรายได้ในอนาคตของคุณเป็นอย่างไร 
2คุณมีเงินสะสมไว้ใช้หลังเกษียณบ้างหรือเปล่า 
3การลงทุนของคุณช่วยให้คุณบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเงิน และมีความเสี่ยงในระดับที่รับได้หรือไม่ 
เพื่อให้ได้ประโยชน์จากคำถามนี้จริงๆ คุณอาจของคำปรึกษาจากที่ปรึกษาการ ลงทุน (ขอแนะให้อ่านบทความว่าด้วยเรื่อง “การว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน” ก่อน) 
และหลังจากผ่านขั้นตอนทางกฎหมาย ที่นำมาซึ่งความเจ็บปวดในหัวใจกันไป แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องจัดระเบียบการเงินกันใหม่ให้แจ๋วกว่าเก่ากันเสียที ที่ควรทำ ก็อย่างเช่น เปลี่ยนชื่อผู้รับประโยชน์ในพินัยกรรมหรือกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหลาย และจัดระเบียบการเงินใหม่ ทำงบการเงินให้ชัดเจน ทำรายการค่าใช้จ่ายประจำ เดือน อย่างค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ชำระหนี้บัตรเครดิต ฯลฯ ชั่งใจ (เสียที) ระหว่าง สิ่งจำเป็น (จริงๆ) กับสิ่งที่เป็นเพียงความต้องการ คุณจะได้ลำดับความสำคัญและกำลังเงินของคุณได้ และตัดสินใจได้ว่าควรใช้ควรจ่ายแค่ไหน อย่างไร 
หากบังเอิญมีทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดราย ได้มา คุณน่าจะคิดถึงการวางแผนภาษี ด้วย เพราะปัจจุบันมีบริษัทที่ปรึกษาด้านภาษีหลายแห่งให้คำแนะนำได้ ไม่ใช่เพื่อ ให้เลี่ยงภาษีได้อย่างสุจริตเหมือนผู้นำในตระกูลซุกจังของบางประเทศ แต่เพื่อช่วย ให้คุณเสียภาษีได้อย่างประหยัดและถูกต้องต่างหาก 
มูลค่าของเงิน (Time Value of Money) 
อีกเรื่องที่ต้องเตือน แต่คงเฉพาะในรายที่ร่ำรวยอย่างสุจริตหลังลงนามในหนังสือ หย่า อย่าใจร้อน วู่วาม จับจ่ายใช้สอยประหนึ่งม่ายเศรษฐีทันที จะดีกว่าหากจะหยุด สักนิด… คิดคำนวณดูว่าที่ได้เพิ่มขึ้นมานั้น มากกว่าอัตราเงินเฟ้อหรือเปล่า 
หากจะคำนวณตัวเลขนี้ ที่คุณต้องเข้าใจคือมูลค่าของเงิน หรือ Time Value of Money ซึ่งหมายถึงว่าเวลามีผลต่อมูลค่าของเงิน 
สมมติว่า เพื่อนสองคนของคุณมีข้อเสนอที่แตกต่างกัน คนแรกบอกว่าจะให้ ทันที 100 บาท อีกคนก็มีเงิน 100 บาทให้เหมือนกัน แต่คุณต้องรออีกสามปี หลายคนคงรับข้อเสนอของเพื่อนคนแรก 
ทีนี้ เพื่อนคนแรกที่ให้เงิน 100 บาททันที เพิ่มเงื่อนไขขึ้นอีกนิด คือ จะรับ 100 วันนี้ หรือจะรอรับเป็น 200 บาท ในอีกสามปีข้างหน้า (นี่คือตัวเลขสมมติ เพื่อเรียกร้องความสนใจเท่านั้น) แบบนี้คงต้องคิดก่อนตัดสินใจกันหน่อย 
บางคนอาจจะคำนวณด้วยหลักการว่า ด้วย 100 บาทตามข้อเสนอ ตนเอง มีหนทางลงุทนเพื่อเพิ่มค่าของเงินได้มากกว่า 200 บาท ในอีกสามปีข้างหน้าหรือไม่ ถ้ามี ก็รับเงินเอาไว้เลย แต่สำหรับบางคนมองแล้วว่าการรับเงินสดมาแล้วนำไป ฝากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงทุกวันทุกวันอย่างนี้ ขอรอรับเป็น 200 บาท ในอีกสามปีน่าจะดีกว่า 
แต่ที่น่าสนใจเพราะจะเป็นพื้นฐานในการคำนวณมูลค่าเงิน คือ “เงินส่วนเพิ่ม” มาจากไหน เพิ่มขึ้นได้อย่างไร 
จะตอบคำถามนี้ได้คุณต้องรู้จักเทียบค่า เงินในปัจจุบันและอนาคต ใช้ “มูลค่า เงินในปัจจุบัน” (Present Value) เป็นต้นทุนในการคำนวณ โดยมี “อัตราส่วนลด” (Discount Rate) เป็นตัวแปร ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนต่างกันออกไป ซึ่งในที่นี้ คำนวณในกรณีที่อัตราส่วนลดอยู่ที่ ร้อยละ 6 
แบบแรก รับเงิน 10,000 บาท ตามมูลค่าในปัจจุบัน (วันนี้) เท่ากับ 10,000 บาท 
แบบที่สอง รับเงิน 12,000 บาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าของเงินปัจจุบันจะอยู่ที่ 8,967 บาท 
แบบที่สาม รับเงินเดือนละ 200 บาทติดต่อกัน 5 ปี มูลค่าของเงินปัจจุบันจะเท่ากับ 10,345 บาท 
มูลค่าเงินที่ต่างกันไปตามอัตราส่วนลดนี่แหละ ที่คุณควรนำมาพิจารณาเพื่อ รักษาสิทธิประโยชน์ของคุณในการเจรจาแบ่งสินทรัพย์ 
และทั้งหมดนี่คือเรื่องที่ควรรู้ไว้หาก (จำ) ต้องหย่า แต่หวังว่าสถานการณ์นี้ คงไม่เกิดกับคุณ 
สถิติการสมรสและหย่าร้าง 
กองทะเบียนครอบครัวกระทรวงมหาดไทย สำรวจพบว่าในช่วงสิบปีระหว่าง พ.ศ. 2528-2537 การจดทะเบียนสมรสและจดทะเบียนหย่าต่างเพิ่มขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร โดยมีการจดทะเบียนสมรส 4,151,635 คู่ จดทะเบียนหย่า 404,977 คู่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10:1 
ว่าด้วยการจดทะเบียนหย่า 
ตามกฎหมายไทยแล้ว การหย่าปฏิบัติได้ 2 วิธีคือ 
การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย กระทำได้ 2 วิธี คือการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน และการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน 
การหย่าโดยคำภิพากษาของศาลเอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่าคือ 
บัตรประจำตัวประชาชน 
ใบสำคัญสมรส 
หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า 
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนหย่า 
กรณีการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน 
คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า 
คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน 
กรณีการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน 
คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า 
คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนใด 
คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน 
กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล 
    หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมีเงื่อนไขให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด