เริ่มต้นกับเราวันนี้
1. ความผิดต่อชีวิตมีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับ ชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต มีฐานความผิดที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดังต่อไปนี้
2. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง
อธิบายการจะเป็นความผิดอาญาและรับโทษได้ว่า
(1). ต้องมีการกระทำ คือ ผู้กระทำเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก เช่น การเหนี่ยวไกยิงปืน การชกผู้ อื่น เป็นต้น ที่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวโดยรู้สำนึก เช่น การละเมอ . การที่ถูกผู้อื่นมาจับมือของเราแล้วไปตีอีก บุคคลหนึ่ง เป็นต้น ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งส่วนต้น
(2) การกระทำครบองค์ประกอบความผิด
(2.1) การกระทำครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนั้นๆ เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 288 คือ มี ผู้ใด(ผู้กระทำ) , ฆ่า(การกระทำ), ผู้อื่น(วัตถุแห่งการกระทำ) เป็นต้น
(2.2) การกระทำครบองค์ประกอบภายในของความผิดฐานนั้น ได้แก่ เจตนา หรือประมาทใน กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง เว้นแต่กรณีที่มี กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา เช่น ความผิดลหุโทษบางมาตรา เป็นต้น
องค์ประกอบภายในอธิบายได้ดังนี้
เจตนา ต้องดูตามมาตรา 59 วรรคสามก่อน คือ ผู้กระทำจะต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ ประกอบภายนอกของความผิดฐานนั้นๆ เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 288 ผู้กระทำจะต้องรู้ว่า ตนเป็น ผู้กระทำ , การกระทำของตนเป็นการฆ่า เช่น การเหนี่ยวไกปืนยิง และ การกระทำของตนได้กระทำต่อผู้อื่น(ที่มี สภาพบุคคลหรือกระทำต่อผู้มีชีวิตนั่นเอง) ไม่ใช่กรณียิงศพ ดังนั้นคำว่า “เจตนา” ในทางกฎหมายอาญาจึงมิใช่ เป็นไปตามความหมายที่เข้าใจกันทั่วๆไป เพียง “รู้” ก็ถือว่ามีเจตนาแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจ ที่แท้จริงที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำว่าต้องการกระทำเพื่อสิ่งใดกันแน่ชัด แต่อย่างใด
> จากนั้นจึงจะมาวิเคราะห์ถึงประเภทของเจตนามีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
(ก) เจตนาธรรมดา คือ เจตนาประสงค์ต่อผล และเจตนาย่อมเล็งเห็นผลได้ ตามมาตรา 59 วรรคสอง
*เจตนาประสงค์ต่อผล หมายถึง เจตนาที่ผู้กระทำต้องการที่จะให้เกิดผลนั้นขึ้นอย่างแน่แท้ เช่น นาย ก. ต้องการฆ่า นาย ข. จึงยิงปืนไปที่ นาย ข. ทำให้นาย ข. ถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
** เจตนาย่อมเล็งผลได้ หมายถึง กรณีที่ผู้กระทำมิได้มีเจตนาประสงค์ต่อผลโดยตรงแก่ผู้ถูกกระทำหรือวัตถุ แห่งการกระทำ แต่พฤติการณ์สามารถคาดเห็นได้ว่าผลของการกระทำจะเกิดขึ้นแก่ผู้ถูกกระทำหรือวัตถุแห่ง การกระทำได้อย่างแน่แท้ตามความคิดเห็นของ “วิญญูชน” คือ คนปกติธรรมดาทั่วไป ในภาวะพฤติการณ์เช่นนั้นพึงจะคาดเห็นได้อย่างแน่นอน เช่น นาย ก. มิได้ประสงค์จะฆ่านาย ข. แต่แรก แต่ประสงค์จะยิงนกที่เกาะ ไหล่นาย ข. แต่การจะยิงนกนั้นนาย ก. ไม่ใช่คนแม่นปืน คนทั่วไปรวมทั้งนาย ก. ย่อมจะคาดเห็นได้อย่างคนธรรมดาทั่วไปว่าในภาวะพฤติการณ์เช่นนี้กระสุนปืนจะถูกนาย ข. อย่างแน่นอน แต่นาย ก. ก็ยังเหนี่ยวไกยิง ออกไป เมื่อกระสุนถูก นาย ข. ตาย นาย ก. จึงมีความผิดฐานฆ่า นาย ข. โดยเจตนา(เล็งเห็นผล)