Attorney of Civil case Criminal law case Family Law case Heritage case Criminal Law case Administrative case Taxes Law case

เริ่มต้นกับเราวันนี้

ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)

ผู้ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย แต่ต้องการยืดเวลาที่จะอยู่ในราชอาณาจักรไทยหรือเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อการทำงานหรือทำธุรกิจต้องยื่นขอวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว.

วีซ่านักท่องเที่ยวหรือวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวนั้นเป็นวีซ่าที่นิยมขอ การจะขอวีซ่าประเภทไหนนั้นต้องพิจารณา จากหลายๆปัจจัยเพื่อจะได้ขอได้อย่างถูกประเภทและต้องตามความประสงค์ของผู้ยื่นขอ

  • เนื่องจากชาวต่างชาติจะยื่นขอวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว ประเภท B หรือวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราวประเภท O-A วีซ่าเกษียณ ซึ่งเราจะกล่าวคร่าวๆเกี่ยวกับเอกสารต่างๆสำหรับวีซ่าประเภทดังกล่าว
  • การได้มาซึ่งวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว ประเภทB วีซ่าธุรกิจ
  • คุณสมบัติ

ผู้ยื่นขอต้องการที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดำเนินธุรกิจหรือหางานเอกสารที่จำเป็น

หนังสือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานใน บริษัทฯ ที่ขอได้ (ในการขอรับหนังสือกรมการจัดหางานดังกล่าว นายจ้างที่จะจ้างคนต่างด้าวต้องไปยื่นคำร้อง ขอรับใบอนุญาตทำงานหรือ แบบ ตท.3 ณ กองงานคนต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ถนน มิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม 10400 หรือที่สำนักงานแรงงานจังหวัด ซึ่งหากอนุญาตให้คน ต่างด้าวดังกล่าวมาทำงานได้ตามที่ขอ กระทรวงแรงงานจะมีหนังสือแจ้งผลการอนุญาต ให้นายจ้างส่งหนังสือ กรมการจัดหางานดังกล่าวให้คนต่างด้าวใช้เป็นเอกสารประกอบการขอวีซ่า)

หนังสือจากบริษัทในประเทศไทยที่จะจ้างงานบุคคลต่างด้าวดังกล่าวชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจ้างงาน พร้อมทั้งแนบเอกสารของบริษัท เช่น ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หนังสือรับรอง การจดทะเบียนบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกระทรวงพาณิชย์ / บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น / ใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) / ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / งบการเงินปีล่าสุด ฯลฯ

ในกรณีของคนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี นายจ้างจะ ต้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับพิจารณาอนุมัติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะแจ้งให้ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทราบโดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอให้ตรวจลงตรา Non- Immigrant Visa รหัส B-A ซึ่งพำนักได้ 1 ปี ให้แก่คนต่างด้าวนั้นต่อไป) การติดต่อธุรกิจ

หนังสือรับรองการทำงานของบริษัทที่ผู้ร้องทำงานอยู่ รวมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทางไป ประเทศไทย ชื่อบริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานที่จะไปติดต่อ – หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินหรือการทำ ธุรกิจของผู้ร้อง (กรณีไม่ได้ทำงานกับริษัทหรือหน่วยงานใดๆ)

หลักฐานแสดงสถานะทางการเงิน/โครงการที่จะเข้ามาประกอบในประเทศไทย (กรณีประสงค์จะเข้ามาเป็น ผู้ประกอบกิจการในประเทศไทย)

หนังสือเชิญของบริษัทในประเทศไทยให้ผู้ร้องเดินทางไปประเทศไทยเพื่อติดต่อธุรกิจ (โดยต้องแนบ เอกสารของบริษัท เช่น ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หนังสือรับรองการจดทะ เบียนบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกระทรวงพาณิชย์ / บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น / ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงงาน (ถ้ามี) / ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / งบการเงินปีล่าสุด ฯลฯ)

กรณีผู้ร้องอ้างว่าเป็นที่ปรึกษาของบริษัท ต้องมีสำเนาหนังสือแต่งตั้งบุคคลของบริษัทยื่นประกอบด้วย

เมื่อคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa “B”) จากสถาน เอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่แล้ว เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ให้ไปติดต่อกองงานคนต่างด้าว เพื่อ ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว จึงจะสามารถทำงานได้

สำเนาเอกสารของบริษัทฯ จะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัดการลงนาม และประทับตรารับรอง โดยต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามด้วย

กรณีหนังสือของบริษัท ควรได้รับการรับรองจากสำนักงานทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์ อายุไม่เกิน 6 เดือน – 1 ปี เนื่องจากบริษัทหลายแห่งมิได้ดำเนินธุรกรรมใดๆ ในปัจจุบัน แต่นำเอกสารบริษัทเดิมไปใช้ในการ รับรอง

ค่าธรรมเนียมสำหรับวีซ่าประเภทอยู่ชั่วคราว ประเภท B วีซ่าธุรกิจ คือ 2,000 บาท สำหรับการเข้า 1 ครั้ง และ 5,000 สำหรับการเข้าหลายครั้ง (ราคาเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า อายุการใช้งาน,ช่วงเวลาที่จะอยู่,การยืดเวลา

ผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยซึ่งได้รับวีซ่าประเภทอยู่ชั่วคราวชนิด B ธุรกิจ จะต้องทำงานในประเทศ และเมื่อได้ ใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องใช้ใบอนุญาตนี้ควบคุมไปเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย

การได้มาซึ่งวีซ่าประเภท O-A วีซ่าผู้สูงอายุ-เกษียณ

คุณสมบัติ

เอกสารที่จำเป็น

หมายเหตุ