Attorney of Civil case Criminal law case Family Law case Heritage case Criminal Law case Administrative case Taxes Law case

เริ่มต้นกับเราวันนี้

รายละเอียดสำหรับการยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นอยู่ในราชอาณาจักร

รายละเอียดสำหรับการยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นอยู่ในราชอาณาจักร (ในโค้วต้าประจำปี)

1.1 ต้องถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) พร้อมกับได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี มาแล้ว รอบเวลาการพำนักอยู่ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ

1.2 ประเภทการยื่นคำขอ ได้แก่

   (1) ขอเข้ามาเพื่อการลงทุน

   (2) ขอเข้ามาเพื่อทำงาน

   (3) ขอเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น มีความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว ได้แก่ 1) เป็น สามี – ภรรยา 2) เป็นบิดา – มารดา 3) เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ยังไม่สมรส

   (4) ขอเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ

หลัง จากกระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะเข้ามามีถิ่นที่ อยู่ในราชอาณาจักประจำปี และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจึงจะสามารถออกประกาศเปิด รับคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักรประจำปีได้ และจะสิ้นสุดการเปิดรับคำขอฯ ในวันทำการสุดท้ายของปี นั้น ซึ่งสามารถสอบถามวันเปิดรับคำขอและรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารประกอบคำขอได้ ที่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง

3.1 เจ้าหน้าที่จะประทับตราอนุญาตให้อยู่รอฟังผลการพิจารณา ครั้งแรก 180 วัน ครั้งต่อไป ครั้งละ 180 วัน จนกว่าจะทราบผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง 

3.2 รับใบนัดหมายให้คนต่างด้าว และผู้เกี่ยวข้องมาสัมภาษณ์ โดยจะมีการทดสอบความสามารถในการพูดและ ฟังภาษาไทยได้เข้าใจ (คนต่างด้าวจะต้องมาตรงตามวันที่นัดหมาย หากไม่มาตามที่นัดหมายโดยมีมีเหตุผลอัน ควร จะถือว่าสละสิทธิ์การยื่นคำขอดังกล่าว)

3.3 คนต่างด้าวที่มีอายุสิบสี่ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยืนคำขอ จะต้องได้รับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ดังนี้

   (1) พิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าวดังกล่าว ส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อตรวจสอบว่ามี ประวัติกระทำผิดในประเทศไทย หรือไม่

   (2) ตรวจสอบหนังสือเดินทางจากระบบบัญชีเฝ้าดู (BLACK LIST) ว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราช บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2552 หรือไม่

   (3) ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากล (BED NOTICE) จากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือไม่.

4.1 พิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย, กระทรวง การต่างประเทศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงแรงงาน, สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน, สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง โดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

4.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาจะคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะใน ครอบครัวของคนต่างด้าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ บุคลิกภาพ สุขภาพ ความเข้าใจภาษาไทย และเงื่อนไขอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และนโยบาย ของรัฐบาล

4.3 ระยะเวลาในการพิจารณาแต่ละปีมีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนโยบายของคณะกรรมการ พิจารณาคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย

5.1 ค่าธรรมเนียมสำหรับการยื่นคำขอ คนละ 7,600 บาท (เจ็ดพันหกร้อยบาทถ้วน) – จะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม เงินค่าธรรมเนียมจะไม่คืนให้

5.2 หากได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ ค่าธรรมเนียมใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ฉบับละ 191,400 บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่น หนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน) สำหรับคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่ อยู่ในราชอาณาจักร หรือ ขอบบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ฉบับที่ 95,700 บาท (เก้าหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากสถานทูต, แปลเป็นภาษาไทยโดยระบุรายละเอียดของ ผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ

คำเตือน

เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่ฯ ประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม (ธันวาคม 2552)

กรณีเพื่อให้ความอุปการะ หรือ อยู่ในความอุปการะของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย

(สามี – ภรรยา, บิดา – มารดา หรือ บุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ยังไม่สมรส)

หมายเหตุ

เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่ ประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน (ธันวาคม 2552)

หมายเหตุ

เอกสารประกอบขอมีถิ่นที่อยู่ฯ ประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ (ธันวาคม 2552)

หมายเหตุ