Attorney of
- บริษัทกฏหมายที่มีความน่าเชื่อถือใน ประเทศไทย
- เรทราคาที่ยอมรับได้
- ทุกปัญหา
- ทางกฏหมาย สามารถติดต่อปรึกษาได้ ฟรี!
เริ่มต้นกับเราวันนี้
คดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
สาระสำคัญของคดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
- 1. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต
- 2. ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง
- 3. ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 ปีถึงยี่สิบปี ตามมาตรา 290 วรรคสอง
- ความผิดที่มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติในมาตรา 289 พอนำมาปรับใช้ได้ดังต่อไปนี้
- ผู้ใด
- (1) ทำร้ายบุพการี
- (2) ทำร้ายเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำรตามหน้าที่
- (3) ทำร้ายผู้ช่วยเจ้าเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้น จะช่วย หรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
- (4) ทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
- (5) ทำร้ายผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
- (6) ทำร้ายผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น หรือ
- (7) ทำร้ายผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิด ความผิดอื่นของตน หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ต้นได้กระทำไว้
- 4. ผู้กระทำต้องมีการกระทำและกระทำโดยเจตนาไม่ว่าจะเป็นเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลได้ ตาม มาตรา 59 วรรคหนึ่งถึงวรรคสาม แต่ตามความผิดฐานนี้ ผู้กระทำไม่มีเจตนาฆ่าผู้อื่นเลย เพียงแต่มีเจตนา ทำร้าย คือ รู้ว่าการกระทำของตนเป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นเท่านั้น แต่ผลกลับเกิดแก่บุคคลอื่นผู้ถูกกระทำนั้น จนถึงแก่ความตายนั่นเอง
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับความผิดฐานนี้
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9413/2552 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290, 371, 83, 91, 33 และริบมีดดาบของกลาง
- จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
- ระหว่างพิจารณานางอุทัย มารดาของนายวัชรพงศ์ ผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นมี คำสั่งอนุญาต (ที่ถูก ให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย โดยมิได้มีเจตนาฆ่าเท่านั้น)
- ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 290, 371 การกระ ทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จำคุก 4 ปี ฐานพาอาวุธปืน (ที่ถูก ฐานพาอาวุธไป ในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร) ปรับ 60 บาท รวมจำคุก 4 ปี และปรับ 60 บาท จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุ บรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี 8 เดือน และปรับ 40 บาท ริบมีดดาบของกลาง ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 2 อุทธรณ์
- ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 (ที่ถูก มาตรา 290 วรรคแรก) จำเลยที่ 2 อายุ 18 ปีเศษ ยังไม่เกิน 20 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จำคุก 6 ปี เมื่อลดโทษให้ หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว จำคุก 4 ปี และเมื่อรวมกับโทษในความผิดฐานอื่นตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วรวมเป็นจำคุก 4 ปี และปรับ 40 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 29 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ฎีกา
- ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า … มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปว่า การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นความ ผิดสำเร็จหรือไม่ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ไม่ปรากฏร่องรอยบาดแผลตามร่างกายของผู้ตาย แสดงว่าคนร้ายไม่มี เจตนาทำร้ายก็ดีหรือหากเป็นการกระทำความผิด ก็เพียงขั้นพยายาม ไม่ใช่ความผิดสำเร็จก็ดีนั้น ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก บัญญัติว่า “ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” อันมีความหมายว่า หากผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ นั้นถึงแก่ความตายโดยมิได้มีเจตนาฆ่าแล้ว ผู้นั้นย่อมมีความผิดตามมาตรานี้ ซึ่งเป็นการบัญญัติให้ได้รับโทษ หนักขึ้นแตกต่างจากความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่น หรือความ ผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ตลอดจนความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้ อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 297 และ 391 ตามลำดับ อันแสดงให้เห็นถึงกฎหมายเจตนาให้ผู้กระทำต้องรับโทษตามผลของการกระทำนั้นแตกต่างกัน ไปตามความหนักเบาของผลที่เกิดขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ใช้มีดดาบเป็นอาวุธไล่ฟันผู้ตายอัน เป็นการทำร้ายผู้ตายแล้ว จนเป็นเหตุให้ผู้ตายวิ่งหลบหนีกระโดดลงน้ำจนถึงแก่ความตาย การกระทำของ จำเลยที่ 2 จึงเป็นการทำร้ายผู้ตายซึ่งเมื่อมิใช่โดยเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็น ความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรกแล้ว หาใช่เป็นการพยายามกระทำความผิด ไม่ ปัญหาประการสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 สถานเบา และรอการ ลงโทษให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องอุกอาจ ไม่ยำเกรงต่อ กฎหมาย จำเลยที่ 2 ก่อเกิดเหตุขึ้นทั้ง ๆ ที่ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่มีเหตุสมควร รอการลงโทษ อย่างไรก็ดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสามและ ลงโทษจำคุก 6 ปี ก่อนลดโทษนั้น หนักเกินไป สมควรแก้ไขให้เหมาะสม ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้นบางส่วน
- พิพากษาแก้เป็นว่า ลดมาตราส่วนโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ความผิดฐาน ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ให้จำคุก 4 ปี ลดโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว จำคุก 2 ปี 8 เดือน เมื่อรวมโทษในความผิดฐานพาอาวุธแล้ว คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับ 40 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2518 จำเลยตี ถ.มีแผลเล็กน้อย.แต่ถ.สลบจำเลยเข้าใจว่าถ. ตาย จึงเอาผ้า ขาวม้าของ ถ.ผูกคอถ.แขวนกับต้นไม้เป็นเหตุให้ถ. ตาย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 290
หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
- 1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด
- 2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิใน cytomel weight loss ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสีย หายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- 3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบ มาตรา134/1 และมาตรา 134/3
- 4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม มาตรา90 หรือมาตรา 106
- 5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตาม มาตรา 30
- 6. กรณี เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความซึ่ง เป็นทายาทของผู้เสียหาย ตามมาตรา 44/1
- 7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย
- 8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาใน การดำเนินคดีของลูกความ
- 9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ
- บริษัท รัชดา ลอว์ จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมือ อาชีพ” มีปัญหาเรื่องความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาโทรหาเราที่เบอร์
- 02-5121-941
- 02-5121-942
- เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 081-3737-440
- e-mail : info@Ratchadalawfirm.com
- facebook : www.facebook.com/Ratchadalawfirm