Attorney of Civil case Criminal law case Family Law case Heritage case Criminal Law case Administrative case Taxes Law case

เริ่มต้นกับเราวันนี้

ทนายความคดีความผิดต่อชีวิต

สาระสำคัญของคดีความผิดต่อชีวิต

  • ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามมาตรา 288 และมาตรา 289
  • ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา ตามมาตรา 290
  • ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 291
  • ความผิดฐานกระทำอันทารุณเพื่อให้บุคคลซึ่งต้องพึ่งผู้กระทำเพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตนเองหรือพยายาม ฆ่าตนเอง ตามมาตรา 292
  • ความผิดฐานช่วยหรือยุยงให้เด็กอายุไม่เกิน 16 ปีหรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจการกระทำของตน ให้ฆ่า ตนเองหรือพยายามฆ่าตนเอง ตามมาตรา 293
  • ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้จนเป็นเหตุให้มีบุคคลใดถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 294

อธิบายการจะเป็นความผิดอาญาและรับโทษได้ว่า

องค์ประกอบภายในอธิบายได้ดังนี้

เจตนา ต้องดูตามมาตรา 59 วรรคสามก่อน คือ ผู้กระทำจะต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก ของความผิดฐานนั้นๆ เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 288 ผู้กระทำจะต้องรู้ว่า ตนเป็นผู้กระทำ , การก ระทำของตนเป็นการฆ่า เช่น การเหนี่ยวไกปืนยิง และ การกระทำของตนได้กระทำต่อผู้อื่น(ที่มีสภาพบุคคล หรือกระทำต่อผู้มีชีวิตนั่นเอง) ไม่ใช่กรณียิงศพ ดังนั้นคำว่า “เจตนา” ในทางกฎหมายอาญาจึงมิใช่เป็นไปตาม ความหมายที่เข้าใจกันทั่วๆไป เพียง “รู้” ก็ถือว่ามีเจตนาแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่แท้จริงที่อยู่ ภายในจิตใจของผู้กระทำว่าต้องการกระทำเพื่อสิ่งใดกันแน่ชัด แต่อย่างใด

จากนั้นจึงจะมาวิเคราะห์ถึงประเภทของเจตนามีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

(ก) เจตนาธรรมดา คือ เจตนาประสงค์ต่อผล และเจตนาย่อมเล็งเห็นผลได้ ตามมาตรา 59 วรรคสอง เจตนาประสงค์ต่อผล หมายถึง เจตนาที่ผู้กระทำต้องการที่จะให้เกิดผลนั้นขึ้นอย่างแน่แท้ เช่น นาย ก. ต้องการฆ่า นาย ข. จึงยิงปืนไปที่ นาย ข. ทำให้นาย ข. ถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตาย เป็นต้น

เจตนาย่อมเล็งผลได้ หมายถึง กรณีที่ผู้กระทำมิได้มีเจตนาประสงค์ต่อผลโดยตรงแก่ผู้ถูกกระทำหรือวัตถุ แห่งการกระทำ แต่พฤติการณ์สามารถคาดเห็นได้ว่าผลของการกระทำจะเกิดขึ้นแก่ผู้ถูกกระทำหรือวัตถุแห่ง การกระทำได้อย่างแน่แท้ตามความคิดเห็นของ “วิญญูชน” คือ คนปกติธรรมดาทั่วไป ในภาวะพฤติการณ์เช่น นั้นพึงจะคาดเห็นได้อย่างแน่นอน เช่น นาย ก. มิได้ประสงค์จะฆ่านาย ข. แต่แรก แต่ประสงค์จะยิงนกที่เกาะ ไหล่นาย ข. แต่การจะยิงนกนั้นนาย ก. ไม่ใช่คนแม่นปืน คนทั่วไปรวมทั้งนาย ก. ย่อมจะคาดเห็นได้อย่างคน ธรรมดาทั่วไปว่าในภาวะพฤติการณ์เช่นนี้กระสุนปืนจะถูกนาย ข. อย่างแน่นอน แต่นาย ก. ก็ยังเหนี่ยวไกยิง ออกไป เมื่อกระสุนถูก นาย ข. ตาย นาย ก. จึงมีความผิดฐานฆ่า นาย ข. โดยเจตนา(เล็งเห็นผล)

(ข) เจตนาโดยผลของกฎหมาย คือ เจตนาโดยพลาด ตามมาตรา 60 มี เนื้อความว่า “ผู้ใดมีเจตนาที่จะ กระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่ บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคล หรือเพราะความ สัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้ายมิให้นำกฎหมายนั้น มาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้ กระทำให้หนักขึ้น”

ประมาท ก็คือกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทนั้น หมายความว่า ผู้กระทำได้ กระทำครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดแล้วแต่มิได้กระทำการไปโดยเจตนา แต่ได้ขาดความระมัดระวัง ตามวิสัยและพฤติการณ์ของบุคคลทั่วไปพึงมี แต่ก็ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดังกล่าวอย่างเพียงพอ เช่น ฝนตก ถนนลื่น นาย ก. ขับรถลงสะพานด้วยความเร็วสูงเบรกไม่ทันชนรถ นาย ข. ทำให้นาย ข. ถึงแก่ความตาย นาย ก. จึงต้องรับผิดอาญาฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 291 เป็นต้น