Attorney of
- บริษัทกฏหมายที่มีความน่าเชื่อถือใน ประเทศไทย
- เรทราคาที่ยอมรับได้
- ทุกปัญหา
- ทางกฏหมาย สามารถติดต่อปรึกษาได้ ฟรี!
เริ่มต้นกับเราวันนี้
ทนายความคดีความผิดฐานลักทรัพย์
สาระสำคัญของความผิดฐานลักทรัพย์
- 1. ความผิดฐานลักทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 1 ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์
- 2. ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท ตามมาตรา 334
- 3. ผู้ใดลักทรัพย์
- (1) ในเวลากลางคืน
- (2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัย แก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่น ว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใดๆ
- (3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วย ประการใดๆ
- (4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ ให้
- (5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
- (6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
- (7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- (8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้ รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
- (9) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถาน สำหรับขนถ่ายสินค้าหรือในยวดยานสาธารณะ
- (10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
- (11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
- (12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับ ประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 10,000 บาท ตามมาตรา 335 วรรคหนึ่ง
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 10,000 บาท ตามมาตรา 335 วรรคสอง
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็น โค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 6,000 บาทถึง 20,000 บาท ตามมาตรา 335 วรรคสาม
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ก็ได้ ตามมาตรา 335 วรรคท้าย
- 4. ผู้ใดลักทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูปหรือวัตถุในทางศาลนา ถ้าทรัพย์นั้นเป็นที่สักการบูชาของประชาชนหรือเก็บ รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป หรือวัตถุดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 6,000 บาทถึง 20,000 บาท ตามมาตรา 335 ทวิ วรรคแรก
- ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ได้กระทำในวัดสำนักสงฆ์ สถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา โบราณสถานอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน สถานที่ราชการหรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 335 วรรคสอง
- 5. ความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 และมาตรา 335 ทวิ เป็นความผิดที่ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น steroidi struttura เพราะมีเหตุฉกรรจ์ ผู้กระทำจะต้องรู้ข้อเท็จจริงของการกระทำนั้นด้วย ตามมาตรา 62 วรรคท้าย เช่น จะรับผิด และโทษความผิดฐานลักทรัพย์ที่มีไว้เคารพบูชา ผู้กระทำก็ต้องรู้ว่าทรัพย์ที่ตนเอาไปโดยทุจริตนั้นเป็นทรัพย์ที่มี ไว้เคารพบูชาของประชาชนด้วยนั้นเอง เป็นต้น
- 6. ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 334(ความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดา) , มาตรา 335(ความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมิเหตุฉกรรจ์) , มาตรา 335 ทวิ(ความผิดฐานลักทรัพย์สิ่งที่มีไว้เคารพบูชาหรือในสถานที่มีไว้เคารพบูชา) หรือมาตรา 336 โดยแต่งเครื่องแบบทหาร หรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดย มีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์ นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 336 ทวิ
หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานลักทรัพย์
- 1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด
- 2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสีย หายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- 3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบมาตรา 134/1 และมาตรา 134/3
- 4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 90 หรือมาตรา 106
- 5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตาม มาตรา 30
- 6. กรณีเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์สิน หรือใช้ราคาแทนทรัพย์สินของลูกความที่เสียหายไปจากการกระทำความผิดในฐานความผิดที่ระบุไว้ ตาม มาตรา 43 หรือยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความ ตามมาตรา 44/1
- 7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย
- 8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาใน การดำเนินคดีของลูกความ
- 9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ
- 10. ดำเนินการให้ลูกความที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางให้ได้รับคืนของกลางกรณีเจ้าของไม่ได้ รู้เห็นเป็นใจให้ทรัพย์นั้นได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วย ตามมาตรา 49 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคสองหรือมาตรา 34 วรรคสอง