Attorney of
- บริษัทกฏหมายที่มีความน่าเชื่อถือใน ประเทศไทย
- เรทราคาที่ยอมรับได้
- ทุกปัญหา
- ทางกฏหมาย สามารถติดต่อปรึกษาได้ ฟรี!
เริ่มต้นกับเราวันนี้
ทนายคดีความผิดฐานชิงทรัพท์
สาระสำคัญของความผิดฐานชิงทรัพย์
- 1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์
- 2. ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
- (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
- (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
- (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
- (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
- (5) ให้พ้นจากการจับกุม
- ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 20,000 บาท ตามมาตรา 339 วรรคหนึ่ง
- ดังนั้น จะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ ผู้กระทำต้องกระทำเข้าองค์ประกอบความผิดฐาน ลักทรัพย์ ตาม มาตรา 334 ก่อนนั่นเอง
- ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่ง มาตรา 335 (การชิงทรัพย์ที่มีเหตุฉกรรจ์ต้องรับโทษหนักขึ้น) หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 339 วรรคสอง
- ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 339 วรรคสาม
- ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 30,000 บาท ถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 339 วรรคสี่
- ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอด ชีวิต ตามมาตรา 339 วรรคท้าย
- 3. ถ้าการชิงทรัพย์ได้กระทำต่อทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ วรรคแรก คือ กรณีเป็นการชิงทรัพย์ที่มีไว้เคารพ บูชา) ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 30,000 บาท ตาม มาตรา 339 ทวิ วรรคแรก
- ถ้าการชิงทรัพย์นั้นเป็นการกระทำในสถานที่ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง (ในสถานที่มี ไว้เคารพบูชาและทรัพย์ที่ชิงนั้นเป็นทรัพย์ที่มีไว้เคารพบูชา) ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคสอง
- ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 30,000 บาทถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 339 ทวิ วรรค สาม
- ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคสี่ (สังเกตตามวรรคนี้ไม่มีโทษ ปรับ) ซึ่งคำว่า “อันตรายสาหัส” เป็นอย่างไร เป็นไปตามมาตรา 297 วรรคสอง โดยอันตรายสาหัสนั้น คือ
- (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (ความสามารถในการดมกลิ่น)
- (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
- (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด เช่น ฟันร่วงหมดปาก หรือจนไม่อาจเคี้ยวอาหารได้ เป็นต้น
- (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (ถ้ารักษาหายได้ก็ไม่เข้าอนุมาตรานี้)
- (5) แท้งลูก
- (6) จิตพิการอย่างติดตัว
- (7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
- (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติ ไม่ได้เกินกว่า20 วัน
- ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษ ประหารชีวิต ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคท้าย (สังเกตโทษตามวรรคนี้มีสถานเดียวและเป็นโทษขั้นร้ายแรงที่สุด คือ ประหารชีวิต)ถ้าการชิงทรัพย์นั้นเป็นการกระทำในสถานที่ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง (ในสถานที่มี ไว้เคารพบูชาและทรัพย์ที่ชิงนั้นเป็นทรัพย์ที่มีไว้เคารพบูชา) ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 40,000 บาท npp meaning ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคสอง
- 4. ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคสามถึงวรรคท้ายนั้น และมาตรา 339 ทวิ วรรคสามถึงวรรคท้าย เป็นกรณีที่ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลของการกระทำเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ ตามมาตรา 63
- 5. ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 339(ความผิดฐานชิงทรัพย์) , มาตรา 339 ทวิ(ความผิดฐานชิงทรัพย์ที่มีไว้ เพื่อเคารพบูชาหรือในสถานที่เคารพบูชา) , มาตรา 340(ความผิดฐานปล้นทรัพย์ หรือมาตรา 340 ทวิ (ความ ผิดฐานชิงทรัพย์ที่มีไว้เพื่อเคารพบูชาหรือในสถานที่เคารพบูชา) โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่ง กายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อ กระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 340 ตรี
หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานชิงทรัพย์
- 1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด
- 2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสีย หายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- 3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบ มาตรา134/1 และมาตรา 134/3
- 4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม มาตรา90 หรือมาตรา 106
- 5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตาม มาตรา 30
- 6. กรณี เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์สิน หรือใช้ราคาแทน ทรัพย์สินของลูกความที่เสียหายไปจากการกระทำความผิดในฐานความผิดที่ระบุไว้ ตาม มาตรา 43 หรือยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความ ตามมาตรา 44/1
- 7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย
- 8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาใน การดำเนินคดีของลูกความ
- 9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ
- 10. ดำเนินการให้ลูกความที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางให้ได้รับคืนของกลางกรณีเจ้าของไม่ได้ รู้เห็นเป็นใจให้ทรัพย์นั้นได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วย ตามมาตรา 49 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคสองหรือมาตรา 34 วรรคสอง